คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหารมีประวัติความเป็นมายาวนาน แต่เดิมวิชาเกษตรกรรมของสถานศึกษา ฝึกหัดครูถือเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตรและเน้นภาคปฏิบัติเป็นสำคัญ เพื่อเป็นการเตรียมบุคลากรครูที่จะจบการศึกษา ให้มีความรู้ทางด้านเกษตรกรรม ให้สามารถสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับด้านเกษตรกรรมแก่นักเรียนได้ ซึ่งรวมทั้งด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ จึงจัดให้มีกิจกรรมนอกหลักสูตรทางด้านนี้ขึ้น ต่อมามีการพัฒนาวิชาเกษตรกรรมให้แฝงอยู่ใน วิชาวิทยาศาสตร์ จนถึงช่วงก่อน พ.ศ. 2526 ประเทศไทยประสบปัญหา “ครูล้นตลาด” กรมการฝึกหัดครูจึงปรับ พ.ร.บ. วิทยาลัยครูให้สามารถผลิตนักศึกษาสาขาอื่นได้นอกจากผลิตครู ดังนั้น พ.ศ. 2526 – 2527 วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ดำเนินงานสนอง พ.ร.บ. ใหม่ของกรมการฝึกหัดครู โดยเปิดสอนสาขาพืชศาสตร์และสัตวบาล ในรูปของ วิทยาลัยชุมชนและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สร้างศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล หน่วยขยายพันธุ์ส้มโอ ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริฯ ณ บริเวณทุ่งทะเลแก้ว โดย หม่อมเจ้าจักรพันธุ์ เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายศูนย์ขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผล งานสาธิตฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพราษฎรตามแนวพระราชดำริฯ หน่วยขยายพันธุ์ส้มโอ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ภาควิชาเกษตรศาสตร์ ได้รับงบประมาณในการจัดสร้างอาคาร ภาควิชาเกษตรศาสตร์ 1 หลัง (ปัจจุบันคือ อาคารโรงงานแปรรูปนมสดพาสเจอร์ไรส์ทะเลแก้ว) สำหรับใช้เป็นสถานศึกษาของนักศึกษาเกษตรที่ทะเลแก้ว
วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้เปิดสอนคณะวิชาเกษตรและอุตสาหกรรม โดยปรับจากภาควิชาเกษตรศาสตร์เดิมและจัดองค์กรการบริหารงานเป็น คณะวิชา เช่นเดียวกับคณะวิชาอื่นๆ
วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยชุมชนแคนาดาเพื่อพัฒนาบุคลากรผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โดยให้ทุนอาจารย์ไปศึกษาอบรมและศึกษาดูงานที่ประเทศแคนาดา และในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปอาหารจาก St. Clair College และ Olds College ได้มาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปอาหารและแปรรูปนม รวมถึงมีการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์การแปรรูปอาหารและแปรรูปนม ซึ่งสามารถใช้เป็นอุปกรณ์การสอนนักศึกษา ฝึกอบรมและการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร
ภาควิชาเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ทดลองดำเนินงานในรูปแบบของคณะวิชา มาระยะหนึ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ได้รับการยกฐานะให้เป็นคณะวิชาเกษตรและอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยครูพุทธศักราช 2528 โดยมีการแบ่งส่วนราชการภายในคณะวิชาออกเป็น 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาเกษตรศาสตร์ ภาควิชาส่งเสริมและสื่อสารการเกษตร และภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร
นายโสภน สุวรรณโรจน์ อธิการบดีวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ในช่วงเวลานั้น มีนโยบายสร้าง College farm บริเวณด้านหลังสวนรัชมังคลาภิเษก และสร้างอาคารคณะวิชาเกษตรและอุตสาหกรรมในพื้นที่ดังกล่าว (ปัจจุบันเป็นอาคารศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ทะเลแก้ว เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการใช้น้ำมันไบโอดีเซล ตามแนวพระราชดำริฯ) ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2532 นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2531 ทางภาควิชาส่งเสริมและสื่อสารการเกษตร ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรี 2 ปีหลังอนุปริญญา เพื่อเป็นการต่อยอดในระดับอนุปริญญา
ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร ได้เริ่มเปิดสอนนักศึกษาระดับอนุปริญญารุ่นแรกในโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร เปิดสอนนักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารระดับปริญญาตรี โดยรับโอนนักศึกษาในระดับอนุปริญญารุ่นแรกเข้าศึกษาต่อเป็นระดับปริญญาตร
มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. สถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น คณะเกษตรและอุตสาหกรรม
เปลี่ยนชื่อจากคณะเกษตรและอุตสาหกรรม เป็น คณะเทคโนโลยีการเกษตร และมีการปรับโครงสร้างการบริหารงานภายในคณะฯ โดยมีการยุบภาควิชาเหลือเฉพาะโปรแกรมวิชา ซึ่งมีทั้งหมด 3 โปรแกรมวิชา คือ โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ โปรแกรมวิชาสัตวบาล และโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณะฯ ได้รับงบประมาณแผ่นดินในการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการแปรรูปอาหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นอาคาร 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1,000 ตารางเมตร
เปลี่ยนชื่อจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร เป็นคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ตามกฎกระทรวงและในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏขึ้นแทนสถาบันราชภัฏ ทำให้สถาบันราชภัฏมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร เป็นอาคาร 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 2,800 ตารางเมตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้ออกประกาศ เรื่อง แนวทางการบริหารคณะฯ พ.ศ. 2550 โดยยุบโปรแกรมวิชาเปลี่ยนเป็นหลักสูตรสาขาวิชาแทนและในปีเดียวกันนี้ทางคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรที่รับผิดชอบจากหลักสูตรกลางของสภาสถาบันราชภัฏ ให้เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และพัฒนาหลักสูตรใหม่ระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และหลักสูตรระดับปริญญาตรีสาขาวิชาสัตวศาสตร์
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ยกเลิกการเปิดสอนหลักสูตรต่อเนื่อง (2 ปี หลังอนุปริญญา) เปิดสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 1 หลักสูตร ได้แก่ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และในขณะเดียวกันทางคณะฯ ได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ระดับปริญญาตรีเพิ่มอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรและหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ทะเลแก้ว เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีที่พัฒนาขึ้นใหม่ และหลักสูตรเดิม รวมหลักสูตรปริญญาตรีที่เปิดสอน 5 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหารซึ่งหลักสูตรนี้ถือเป็นหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ยังได้เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารที่พักผู้เข้าฝึกอบรมเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร เป็นเรือนพัก 3 หลัง ประกอบด้วย เรือนแพทองวารี มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 108 ตารางเมตร เรือนแพท่องนที มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 108 ตารางเมตร และเรือนพัก สุขวิถี มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 134 ตารางเมตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้มีการปรับโครงสร้างระบบการบริหารงาน โดยมีการจัดตั้งสาขาวิชาขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งทางคณะฯ จัดตั้งเป็น 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร โดยสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ประกอบด้วย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และสาขาวิชาสัตวศาสตร์ ในส่วนสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตรประกอบด้วยหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร นอกจากนี้คณะฯ ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาทุกหลักสูตร ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(TQF) ใช้หลักสูตรปรับปรุงดังกล่าว สำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการวิศวกรรมเกษตรและอาหาร เป็นอาคาร 3 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 600 ตารางเมตรเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1/2555 และได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดซื้อครุภัณฑ์ประกอบการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมเกษตรและอาหาร ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของสภาวิศวกร นอกจากนี้สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้ฝึกทักษะประสบการวิชาชีพให้กับนักศึกษา มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 96 ตารางเมตร
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้รับงบประมาณสำหรับจัดหาครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เป็นจำนวนเงิน 1,860,500 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนหกหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน) ได้แก่ กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ ชุดกรองน้ำพร้อมอุปกรณ์ และเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ยังได้สิ่งปลูกสร้างใหม่ คือ โรงเรือนไก่ไข่ พร้อมทั้งรายการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ปรับปรุงโรงเรือนเลี้ยงสุกรระบบปรับอากาศ ปรับปรุงโรงรีดนมโค และปรับปรุงอาคารปฏิบัติการพันธุ์ไม้น้ำ และคณะฯ ได้พัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีนิเวศ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ และศูนย์วิชาการสาธิตและอนุรักษ์พันธุ์ไก่พื้นเมือง
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับครุภัณฑ์การเรียนการสอนปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เป็นจำนวนเงิน 2,138,000 บาท ได้แก่ รถไถเดินตามพร้อมอุปกรณ์ ห้องเย็นสำเร็จรูปชุดครุภัณฑ์ประกอบอาคารวิศวกรรมเกษตรและอาหาร ชุดตรวจสอบคุณภาพอาหารทางจุลชีววิทยา และชุดโมเดลหุ่นจำลองสัตว์ นอกจากนี้ยังได้รับกระบือพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และกวางอีกทั้งในปีนี้คณะฯ มีการจัดโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรพิบูลสงครามและโครงการประชุมสัมมนาและจัดนิทรรศการเชิงวิชาการเพื่อถอดบทเรียนการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัยและชุมชนในระดับชาติ
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการ จัดหาครุภัณฑ์ ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เป็นจำนวนเงิน 4,815,000 บาท (สี่ล้านแปดแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาท) ได้แก่ ปรับปรุงโรงเรือนโคเนื้อ ชุดตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ เครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์ชนิดเม็ดแข็ง ชุดตรวจสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์เบื้องต้น ชุดไส้กรองเครื่องกรองน้ำ เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ และชุดวิเคราะห์ทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม และคณะฯ ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตร 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรและหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการ จัดหาครุภัณฑ์ ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เป็นจำนวนเงิน 8,115,900 บาท (แปดล้านหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาทเก้าร้อยบาทถ้วน) ได้แก่ โรงเรือนเพาะชำ โรงจอดรถอาคารปฏิบัติการแปรรูปอาหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงโรงเรือนสุกรขุน ปรับปรุงโรงเรือนไก่เนื้อ ปรับปรุงบ่อไบโอแก๊ส ปรับปรุงอาคารปฏิบัติการแปรรูปอาหารและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงอาคารฝึกอบรมคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร และรายการครุภัณฑ์ ได้แก่ ตู้ปลอดเชื้อปล่อยลมตามแนวดิ่ง (Laminar flow) เครื่องบ่มเชื้อ (Incubator shaker) ตู้อบความร้อนไฟฟ้า
(Hot air oven) เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยแรงดันไอน้ำ (Autoclave) เครื่องทำแห้งแบบถาด (Tray dryer) เครื่องอ่านปฏิกิริยาบนไมโครเพลท เครื่องระเหยสูญญากาศ (Rotary evaporator) เครื่องล้างด้วยระบบคลื่นเสียงความเร็วสูง(Ultrasonic Cleaner) เครื่องให้ความร้อน (hotplate) แบบ Magnetic stirrer เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล เครื่องมือ Hand Refractometer (0-100 brix) เครื่องวัดค่าปริมาณความชื้น เครื่องชั่งน้ำหนักทศนิยม 4 ตำแหน่ง เครื่องชั่งน้ำหนักทศนิยม 2 ตำแหน่ง เครื่องโฮโมจิไนเซอร์ (Homogenizer) พร้อมชุดเครื่องมือ เครื่องวัดความหนืดพร้อมชุดเครื่องมือ อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ โปรแกรม Minitab โปรแกรม Design
Expert ปั๊มสุญญากาศสำหรับเครื่อง Rotary evaporator และคณะฯ ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตร 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการ จัดหาครุภัณฑ์ ที่ดินสิงปลูกสร้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 เป็นจำนวนเงิน 15,776,800 บาท (สิบห้าล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยบาทถ้วน) ได้แก่ โรงผลิตอาหารสัตว์ ปรับปรุงอาคารคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร จัดหาครุภัณฑ์โต๊ะขาพับ
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณ ประจำปีการศึกษา 2561 เป็นจำนวนเงิน 15,836,000 ( สิบห้าล้านแปดแสนสามหมื่นหกพันบาท ) และได้รับการจัดสรรเงินครุภัณฑ์ 7,245,000 (เจ็ดล้านสองแสนสี่หมื่นห้าพันบาท ) ได้แก่ เครื่องสกัดไขมัน, เครื่องวิเคราะห์คุณภาพไข่ ,เครื่องวิเคราะห์คุณภาพไข่เครื่องวิเคราะห์คุณภาพไข่, เครื่องวิเคราะห์คุณภาพไข่, ตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำ, กล้อง Total station พร้อมอุปกรณ์วัดระยะ, กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอพร้อมชุดถ่ายภาพดิจิตอล, โต๊ะปฏิบัติการกลางแบบมีชั้นบนโต๊ะพร้อมอ่างล้างและชุดแขวนหลอดแก้ว, เครื่องทำน้ำกลั่น, เครื่องวิเคราะห์ไขมันสำหรับอาหาร, เครื่องเขย่าสารละลายในหลอดทดลอง(Vortex mixer), เครื่องเขย่าสารในงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์, ปรับปรุงห้องปฏิบัติการตรวจสอบซัลเฟอร์ไดออกไซด์, จอตั้งพื้น (Vertical floor screen), เครื่องพิมพ์ ชนิดเลเซอร์สี, โครงการปรับปรุงห้องประชุมคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร, เครื่องทำน้ำ RO พร้อมถังเก็บน้ำขนาด 40 ลิตร, เครื่องฉายภาพ 3 มิติ, โครงการ
ปรับปรุงอาคารโรงเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง และเครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 19,241,100 และได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านยุทธศาสตร์ จำนวน 4,157,000 บาท และได้รับการจัดสรรทรัพยากรครุภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ 2562 ได้แก่ เครื่องทำแห้งสำหรับอาหารภายใต้สภาวะอุณหภูมิต่ำ เครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze Dryer) เครื่องแก๊สโคโมโตกราฟพร้อมด้วยตัววัดแบบ FID และ TCD เครื่องสกัดหาปริมาณเยื่อใย ทีวี LED ขนาดไม่เกินกว่า 49 นิ้วพร้อมขาตั้งแบบเคลื่อนที่ได้ และคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหารยังได้รับการจัดสรรงบประมาณสิ่งปลูกสร้างอาคารปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 10,000,000 บาท
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 19,264,799 บาท และได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านยุทธศาสตร์ จำนวน 2,770,499 บาท และได้รับการจัดสรรทรัพยากรครุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2563 ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปทางวิศวกรรม เครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงพร้อมตัวตรวจวัดชนิด UV เครื่องบดและผสมวัตถุดิบอาหารปลา เครื่องอัดเม็ดและอบแห้ง เครื่องบดตัวอย่างอาหาร เครื่องวัดความเป็น กรด-ด่าง ในสารละลายแบบตั้งโต๊ะ ตู้อบสูญญากาศพร้อมปั๊ม และเครื่องทอดสุญญากาศ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหารยังได้รับการจัดสรรงบประมาณ งานปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์จำนวน 250,000 บาทและงานปรับปรุงห้องสโมสรนักศึกษาจำนวน 600,000 บาท
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งมีการปรับชื่อสาขาวิชาเป็น สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง ประกอบด้วย 2 วิชาเอก คือ วิชาเอกการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Health Product Development) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (Cosmetic Product Development) ทั้งสองหลักสูตรปรับปรุงหลักสูตรและเปิดสอนในปีการศึกษา 2564 นอกจากนี้คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 15,762,150 บาท และได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านยุทธศาสตร์ จำนวน 4,042,750 บาท และได้รับการจัดสรรทรัพยากรครุภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ 2564 ได้แก่ ชุดสกัดอาหารเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แบบที่1 และเครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์ ขนาด 3,000 ANSI Lumens คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหารยังได้รับการจัดสรรงบประมาณ งานปรับปรุง โรงจอดรถแทรกเตอร์พร้อมเก็บอุปกรณ์ต่อพ่วง จำนวน 1,100,000 บาท
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ โดยปรับลดเป็น 2 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกพืชศาสตร์ (Plant Science) และวิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตรและสิ่งแวดล้อม (Agricultural Resource and Environmental Management) ส่วนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร ได้ปรับหลักสูตรสาขาวิชาเป็น สาขาวิศวกรรมอาหาร ซึ่งมีเพียงวิชาเอกวิศวกรรมอาหารเท่านั้น ขณะเดียวกันได้เปิดหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีระบบเกษตร ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกและหลักสูตรเดียวในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และยังเป็นหลักสูตรที่มีการบูรณาการกับการทำงาน (CIWIE) ทุกหลักสูตรที่กล่าวมาข้างต้นเปิดสอนในปีการศึกษา 2565 นอกจากนี้คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 8,870,900 บาท จำแนกเป็นงบประมาณเงินแผ่นดิน จำนวน 7,721,800 บาท งบประมาณเงินรายได้ จำนวน 1,149,100 บาท งบประมาณด้านยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย จำนวน 2,857,692 บาท และได้รับการจัดสรรงบลงทุนครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง จำนวน 4,785,200 บาท ได้แก่ เครื่องอัลตร้าซาวด์, เครื่องวัดคลอโรฟิลล์ใบภาคสนาม, เครื่องวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้และก๊าซมลพิษจากปล่องระบาย, เครื่องดูดฝุ่น, เลื่อยยนต์, เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายบ่าข้อแข็ง, โต๊ะทำงาน, มอเตอร์หินเจียรรุ่นงานหนัก ขนาด 8 นิ้ว และงานปรับปรุงอาคารคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร จำนวน 3,450,000 บาท
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีการปรับเป็นหลักสูตรที่มีการบูรณาการกับการทำงาน (CIWIE) และเปิดหลักสูตรเทียบโอน (2 ปี) จำนวน 5 หลักสูตรสาขาวิชา (ยกเว้นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอาง) นอกจากนี้คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 6,890,000 บาท จำแนกเป็นงบประมาณเงินแผ่นดิน จำนวน 5,683,800 บาท งบประมาณเงินรายได้ จำนวน 1,207,000 บาท และได้รับการจัดสรรงบลงทุน จำนวน 2,529,500 บาท โดยเป็นรายการครุภัณฑ์จำนวน 1 รายการ คือ พัดลมอุตสาหกรรม ซึ่งติดบริเวณโถงกิจกรรมคณะ เพื่อใช้สำหรับนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนงบประมาณด้านที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้รับการจัดสรรงานปรับปรุงอาคารปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 1 รายการ งบประมาณ 2,500,000 บาท สำหรับงบประมาณด้านยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย (ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาท้องถิ่น และ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนานักศึกษา) คณะฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,947,580 บาท